top of page
หมุดที่ดิน.-หัว.jpg

รั้วบ้านสูงได้กี่เมตร ?
รั้วบ้านสูงได้กี่เมตร รั้วบ้านสูงได้ไม่เกินเท่าไหร่

ปกแชร์1.jpg

             ความเป็นจริงแล้ว พรบ. ควบคุมอาคาร กำหนดขนาดรั้วบ้านให้สูงไม่เกิน 3 เมตร เฉพาะรั้วฝั่งที่ “ติดกับถนนสาธารณะ” เท่านั้นซึ่งหากเป็นบ้านทั่วไปก็จะบังคับเฉพาะรั้วหน้าบ้านที่ติดถนนสาธารณะ หรือหากเป็นบ้านแปลงมุม บังคับเฉพาะรั้วหน้าบ้านและรั้วข้างฝั่งที่ติดถนนสาธารณะ
ส่วนรั้วฝั่งที่ติดกับเพื่อนบ้าน เราเรียกว่า “ติดที่ดินเอกชน” ซึ่งมักเป็นรั้วข้างบ้านและรั้วหลังบ้าน รั้วที่ติดเพื่อนบ้านหรือที่ดินเอกชนกฏหมายไม่ได้บังคับไว้ จึงไม่มีข้อห้ามและไม่ได้ตีความว่าเป็นอาคาร จึงสามารถทำสูงได้ไม่เกิน 10 เมตรเลยครับ แต่หากรั้วสูงเกิน 10 เมตร ทางกฎหมายจะมองว่าเป็นอาคาร จำเป็นต้องขออนุญาตก่อสร้างเสมอ

           อย่างไรก็ตาม หากเรามีปัญหากับบ้านข้างเคียงหรือต้องการรั้วเพื่อเพิ่มความเป็นส่วนตัว การทำรั้วสูงเพียง 3 เมตร ก็สูงมากแล้ว เพียงพอต่อการบดบังสายตาของชั้น 1 ได้ทั้งชั้น ในทางกลับกันหากรั้วบ้านที่สูงเกินไป ย่อมส่งผลให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกอึดอัดและลมธรรมชาติไม่พัดผ่านบ้านของเรา ทั้งยังใช้งบก่อสร้างที่สูงมาก ๆ ฐานรากและโครงสร้างของรั้วจะต้องแข็งแรง เสา คานจะหนาใหญ่ขึ้น กินพื้นที่งานมากขึ้น และควรให้วิศวกรออกแบบให้เท่านั้น มิเช่นนั้นอาจเกิดอันตรายต่อผู้อยู่อาศัยได้เลยครับ ดังนั้น ความสูงรั้วไม่เกิน 3 เมตร เป็นขนาดที่เหมาะสมแล้ว

DSC09670-2.jpg

1. รั้วบ้านคือรั้วบ้าน

           ไม่ใช่ผนังอาคาร หลายบ้านทำการต่อเติมภายหลัง โดยให้ผนังรั้วเป็นผนังห้อง ลักษณะนี้ผิดกฎหมาย เพื่อนบ้านสามารถร้องเรียนเพื่อแจ้งรื้อทิ้งได้ทันที

IMG_0875-2.jpg

2. รั้วทุกด้านห้ามมิให้ส่วนใดยื่นล้ำเขต

  รั้วทุกด้านห้ามมิให้ส่วนใดยื่นล้ำเขตที่ดินสาธารณะและเขตที่ดินเอกชน ทั้งส่วนฐานรากใต้ดินและส่วนหลังคา ชายคา รางน้ำ หรือแม้แต่พื้นทางเข้าบ้าน หากยื่นล้ำเขตด้านใดด้านหนึ่งย่อมมีความผิดเช่นกัน

52106860_2095009910582185_3375149523566329856_n-2.jpg

3. บ้านค้างเคียงกันสามารถทำรั้วร่วมกันได้

       บ้านข้างเคียงกัน สามารถทำรั้วร่วมได้ โดยรั้วร่วมจะวางตามแนวกึ่งกลางหมุดที่ดิน แต่แม้จะเป็นรั้วร่วมก็ไม่สามารถล้ำเขตกันได้ นั่นหมายถึง ห้ามมิให้กระทำการใดๆ บนแนวรั้วร่วม หากจะทำอะไรเพิ่ม ให้ทำบนผนังฝั่งรั้วบ้านของเราเท่านั้น เช่น หากต้องการเสริมรั้วให้สูงกว่ารั้วร่วมเดิม ให้ทำการต่อเติมบนฝั่งที่ดินของเรา ไม่ควรต่อเติมบนแนวรั้วเดิม

IMG_7876-13.jpg

4. กรณีต้องหารถมดินเพิ่ม

      จำเป็นต้องสำรวจแนวคานของรั้วก่อน หากถมสูงเกินแนวคานซึ่งจะเป็นส่วนงานผนังอิฐก่อ จะส่งผลให้รั้วเกิดอาการล้มเอนภายหลังได้ หากต้องการถมดินเพิ่มสูงกว่าคานรั้ว จำเป็นต้องทำผนังกั้นดินเสริมเสมอครับ และควรมีรางระบายน้ำรอบด้าน มิเช่นนั้นน้ำจากที่ดินที่สูงกว่า อาจไหลทะลักไปบ้านข้างเคียงได้

แชร์บทความนี้

  • Facebook
  • Instagram
  • Twitter
  • LinkedIn
bottom of page