top of page

เรื่องที่ทุกคนจะต้องรู้ก่อน
ตัดสินใจกู้ร่วม ?
การกู้ร่วมคืออะไร ?
![10783887_19197430 [Converted].png](https://static.wixstatic.com/media/14a42b_4b505b3be52a4b2baf943973155f4662~mv2.png/v1/fill/w_276,h_277,al_c,q_85,usm_0.66_1.00_0.01,enc_auto/10783887_19197430%20%5BConverted%5D.png)
“กู้ร่วม” คือการทำสัญญายื่นกู้สินเชื่อก้อนเดียวกัน เพื่อให้ทางธนาคารเห็นว่าจะมีอีกคนมาช่วยรับผิดชอบหนี้ เพิ่มความมั่นใจว่าจะสามารถผ่อนชำระได้ตามกำหนด ทำให้ขออนุมัติสินเชื่อได้ง่ายขึ้น หรือได้วงเงินสูงขึ้น
โดยปกติแล้วจะกู้ร่วมได้ไม่เกิน 3 คน สามารถกู้ร่วมได้ในสินเชื่อธุรกิจ และสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์
เราจะขอกู้ร่วมกับใครได้บ้าง ?


1. คนที่มีนามสกุลเดียวกัน
เช่น พี่ น้อง พ่อ แม่ ลูก
2. พี่ น้องท้องเดียวกัน
แม้จะคนละนามสกุลก็สามารถกู้ร่วมได้ โดยต้องแสดงทะเบียนบ้านหรือสูติบัตรระบุว่ามีพ่อแม่คนเดียวกัน
3. สามี-ภรรยา
แม้จะไม่ได้จดทะเบียนสมรสก็กู้ร่วมกันได้ แต่ต้องแสดงหลักฐานการเป็นสามี-ภรรยากัน เช่น ภาพถ่ายหรือการ์ดงานแต่งงาน หนังสือรับรองบุตร
ประโยชน์ของการกู้ร่วม
![26921525_Businessman signing contract [Converted].png](https://static.wixstatic.com/media/14a42b_1a5e3c819ae0490facd612961bd894b6~mv2.png/v1/crop/x_195,y_0,w_2102,h_1700/fill/w_246,h_199,al_c,q_85,usm_0.66_1.00_0.01,enc_auto/26921525_Businessman%20signing%20contract%20%5BConverted%5D.png)
ขออนุมัติสินเชื่อได้ง่ายขึ้น
คนที่ต้องการซื้อบ้านหรือคอนโด แต่กังวลว่าจะไม่ผ่านเกณฑ์พิจารณาของธนาคาร หากมีผู้กู้ร่วมที่มีสุขภาพการเงินแข็งแรง ก็จะเพิ่มความน่าเชื่อถือมากขึ้น

ได้วงเงินสูงขึ้น
การมีผู้กู้ร่วม ฐานรายได้ที่นำมาพิจารณาก็จะเพิ่มขึ้น จึงมีโอกาสได้วงเงินสูงขึ้น

ไม่ต้องแบกภาระหนี้คนเดียว
การกู้ร่วมทำให้เรามีคนช่วยผ่อนชำระหนี้ และเป็นการกระจายความเสี่ยง เผื่อวันหนึ่งเราขาดสภาพคล่อง ก็ยังมีผู้กู้ร่วมที่สามารถชำระหนี้ได้ เพราะลงเรือลำเดียวกันแล้วก็ต้องช่วยกัน
ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจกู้ร่วมกัน

กู้ร่วมไม่ได้แปลว่าต้องหารหนี้เท่า ๆ กัน
การกู้ร่วมไม่ได้แปลว่าจะต้องรับผิดชอบฝ่ายละครึ่ง (หรือหารเท่าๆ กัน) แต่ทุกคนจะต้องรับผิดชอบหนี้สินก้อนนี้ร่วมกัน ดังนั้นถ้าผิดชำระหนี้หรือถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาด ธนาคารมีสิทธิ์จะเรียกชำระหนี้จากใครก็ได้ที่เป็นผู้กู้ร่วม
![gst_bg_055_04 [Converted].png](https://static.wixstatic.com/media/14a42b_0471cf45f48b4523bc11b12c6744b22f~mv2.png/v1/fill/w_322,h_279,al_c,q_85,usm_0.66_1.00_0.01,enc_auto/gst_bg_055_04%20%5BConverted%5D.png)
การใส่ชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์
การกู้ร่วมอสังหาริมทรัพย์จะมีอยู่ 2 แบบคือ “ใส่ชื่อคนเดียวเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แบบนี้ง่ายและสะดวก แต่ผู้กู้ร่วมจะไม่มีกรรมสิทธิ์ใด ๆ ในอสังหาฯ นั้น กับอีกแบบคือ “ใส่ชื่อผู้กู้ร่วมทุกคนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์” แบบนี้ทุกคนจะมีสิทธิ์เท่าๆ กัน แต่หากต้องการขายอสังหาฯ นั้น จะต้องได้รับการยินยอมจากผู้ถือกรรมสิทธิ์ทุกคน
![29098658_ry0q_a2qj_220517 [Converted].png](https://static.wixstatic.com/media/14a42b_9bcce052fab441f88fe944a4bc0826d5~mv2.png/v1/fill/w_366,h_250,al_c,q_85,usm_0.66_1.00_0.01,enc_auto/29098658_ry0q_a2qj_220517%20%5BConverted%5D.png)
สิทธิ์ลดหย่อนภาษี
สิทธิ์ลดหย่อนภาษีจะหารเฉลี่ยตามจำนวนผู้กู้ จะแบ่งกันเองไม่ได้ แต่จะลดหย่อนรวมได้สูงสุดเพียง 100,000 บาท (ถ้ากู้ร่วม2 คน แปลว่าลดหย่อนได้สูงสุดคนละ 50,000 บาท
![26921941_Hand putting flowers on tombstone flat vector illustration [Converted].png](https://static.wixstatic.com/media/14a42b_8e2c609d041c40cc9de28cc0a3503849~mv2.png/v1/fill/w_381,h_226,al_c,q_85,usm_0.66_1.00_0.01,enc_auto/26921941_Hand%20putting%20flowers%20on%20tombstone%20flat%20vector%20illustration%20%5BConverted%5D.png)
ถ้าผู้กู้ร่วมเสียชีวิต
กรณีผู้กู้ร่วมเสียชีวิตจะต้องแจ้งธนาคาร มิเช่นนั้นสัญญาจะไม่เปลี่ยนแปลง จากนั้นทายาทหรือผู้จัดการมรดกของผู้เสียชีวิต (ที่ธนาคารประเมินแล้วว่าสามารถจ่ายหนี้ได้)
จะเข้ามารับช่วงต่อการผ่อนชำระ
ลงชื่อกู้ร่วมแล้วจะยกเลิกได้มั้ย?

จะถอนชื่อกู้ร่วมได้ ต่อเมื่อธนาคารพิจารณาแล้วว่าผู้กู้ร่วมที่เหลืออยู่สามารถผ่อนชำระไหว หรือใกล้หมดสัญญาแล้ว แต่ถ้าธนาคารเห็นว่าคนที่เหลืออยู่ผ่อนไม่ไหว ก็ต้องหาคนอื่นมากู้ร่วมแทน
“การกู้ร่วม” ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือในการขอสินเชื่อ ทำให้ธนาคารอนุมัติได้ง่ายขึ้น จึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคู่ที่อยากมีธุรกิจร่วมกัน หรือซื้อบ้านเพื่อสร้างอนาคต แต่ก่อนจะตัดสินใจกู้ร่วม ต้องมั่นใจก่อนว่าคนนั้น ๆ ไว้ใจได้ และมีความสามารถในการจ่ายหนี้ หรือการกู้ร่วมซื้อบ้านกับคนรัก ก็อยากให้แน่ใจแล้วว่าจะลงหลักปักฐานกับคนนี้จริง ๆ เพราะเมื่อลงเรือลำเดียวกันแล้วก็ต้องไปให้ตลอดรอดฝั่ง
สามรถรับชมคลิปอธิบายเพิ่มเติมได้แล้ว ที่นี่
แชร์บทความนี้
bottom of page