
หมุดที่ดินคืออะไร?
หลักหมุดหาย ถูกเคลื่อนย้าย แก้ไขอย่างไร

เมื่อทำการรังวัดที่ดินแล้วพบว่าหลักหมุดหายหรือถูกเคลื่อนย้ายหลักหมุดไม่ตรงกันกับแนวเขตที่ระบุบนโฉนดที่ดิน
กรณีนี้อาจเป็นไปได้ว่าเกิดจากที่ดินแปลงข้างเคียงทำการขอรังวัดไปก่อนหน้านี้
แต่ว่าทางเราไม่ได้ระวางแนวเขต
ในขณะเดียวกันก็ไม่ทราบ ไม่ได้รับจดหมายแจ้ง จึงไม่ได้คัดค้านอะไร ทำให้เสียพื้นที่ส่วนนั้นไปให้ที่ดินข้างเคียง แล้วแบบนี้ต้องแจ้งใคร ดำเนินการอย่างไร
หลักหมุดที่ดิน คือ
หลักหมายเขตที่ดิน เป็นลักษณะเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กทรงกระบอก
ปักลงไปบนดินเพื่อการทำแผนที่และรังวัดที่ดินบอกพิกัดให้ตรงข้อมูลบนโฉนดที่ดิน

หลักหมุดหายต้องทำอย่างไร?
เมื่อทราบว่าหลักหมุดที่ดินหาย วิธีแก้ปัญหา คือ การเดินทางไปแจ้งเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดิน เพื่อทำการขอรังวัดที่ดินใหม่โดยให้เหตุผลว่าหลักหมุดหาย (ต้องการลงหมุดใหม่)
เจ้าหน้าที่จะทำการส่งจดหมายให้เจ้าของที่ดินแปลงข้างเคียงภายใน 2 สัปดาห์
ทำการรังวัดภายใน 30 วันพร้อมกันหากเจ้าของที่ดินข้างเคียงไม่มาเจ้าหน้าที่จะทำการปักหมุดใหม่และทำการปิดประกาศ ณ กรมที่ดิน 30 วัน กรณีไม่มีใครคัดค้านสามารถใช้โฉนดลงหลักหมุดใหม่ได้ พร้อมหนังสือรับรองแนวเขต กำกับหลักเขตใหม่ให้

หลักหมุดถูกเคลื่อนย้าย แก้ปัญหาอย่างไร?
สามารถนำโฉนดของเราขอเปรียบเทียบกับแนวเขตของโฉนดที่ดินแปลงข้างเคียง ว่าข้อมูลตรงกันหรือไม่ (ต้องได้รับความร่วมมือจากที่ดินข้างเคียง) หากตรวจสอบแล้วพบว่ามีที่ดินหายไปจริง ต้องให้เจ้าของที่ดินพื้นที่ข้างเคียงเซ็นเอกสารรับรองแนวเขตใหม่ถึงจะสามารถแก้ไขเนื้อที่ให้ตรงตามโฉนดได้ หากเจ้าของที่ดินแปลงข้างเคียงคัดค้านเราในฐานะผู้เสียหายสามารถยื่นเรื่องฟ้องศาลได้ภายใน 90 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งส่วนอีกกรณีหนึ่งที่เสียที่ดินไปนาน 10 ปี แต่เพิ่งมาทราบ ส่วนนี้ต้องระวังผู้ถือครองฟ้องครอบครองปรปักษ์
ซึ่งทั้งหมดต้องผ่านการนัดคุยไกล่เกลี่ยโดยอ้างอิงบทบัญญัติ 1376 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หาหลักหมุดไม่เจอ หรือหลักหมุดถูกเคลื่อนย้ายถือเป็นเรื่องใหญ่ที่ไม่ควรปล่อยปะละเลย เจ้าของที่ดินแบบเราต้องเร่งดำเนินการเพราะหากที่ดินข้างเคียงพัฒนาพื้นที่ปลูกบ้านหรือทำประโยชน์ด้านอื่นๆไปแล้ว กระบวนการจะค่อนข้างยุ่งยากกว่าการลงหลักหมุดใหม่ในขณะที่ยังเป็นที่ดินเปล่านั่นเอง